ปฐมบท: ความก้าวหน้าของการบุกเบิก (พ.ศ. 2549 – 2554)

          ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2549 สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สุพรรณบุรี (คือ สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ในปัจจุบัน) ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการ โดยได้รับเกียรติจาก นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย เป็นประธานในพิธีและเปิดแพรคลุมป้ายของสถาบันขงจื่อฯ ร่วมด้วย มาดามผัง ลี่ เลขานุการเอกสถานทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวอำนวยพร พร้อมด้วย ดร.หวง เหวยอี้ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกวางสีและประธานกรรมการอำนวยการสถาบันขงจื่อฯฝ่ายจีน รองศาสตารจารย์ ดร.ณัฏฐารมณ์ จุฑาภัทร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และประธานกรรมการอำนวยการสถาบันขงจื่อฯ ฝ่ายไทย และผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อฯ ฝ่ายจีนและฝ่ายไทย ท่านแรก คือ อาจารย์หลิน เข่อ และผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉิดฉิน สุกปลั่ง โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากทั้งสองฝ่ายร่วมพิธีในวันดังกล่าวมากกว่า 200 คน ร่วมเป็นสักขีพยานในการเริ่มต้นดังกล่าว นับเป็นก้าวย่างแรกในความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมระหว่างจีน – ไทย ร่วมกัน

“สถาบันแห่งการค้นพบการสร้างสรรค์ด้านการศึกษา”
“ประสบการณ์ไม่มีความหมายหากไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์นั้น”

          เมื่อสถาบันขงจื่อฯ ได้ก่อตั้งขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแผ่ขยายการศึกษาภาษาจีนในภาคกลางและภาคตะวันตก การก้าวเดินทางที่มีจุดมายปลายทางที่ยิ่งใหญ่ข้างหน้า บุคลากรทุกคนของสถาบันขงจื่อฯ มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการก้าวเข้าสู่ชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ เผยแพร่เป้าหมายของการศึกษา นำเสนอความตั้งใจอันดีด้านความร่วมมือและเปิดโอกาสรับนักเรียนที่หลากหลาย ดังนั้นจึงส่งผลให้สถาบันขงจื่อฯ ค่อย ๆ เติบโตขึ้น เริ่มงานด้านการสอน การอบรมภาษาจีน บริการจัดสอบวัดระดับภาษาจีน การมอบประสบการและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทย ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาต่อมา นอกจากนั้น สถาบันขงจื่อฯ ได้นำเสนอกิจกรรมนิทรรศการชุดหนังสือ-ตำราภาษาจีน การบรรยายด้านวิชาการ งานวิจัยด้านภาษาจีน และกิจกรรมด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน สร้างเสริมมิตรภาพระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

การฉลองครบรอบ 5 ปี

          ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2554 สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สุพรรณบุรี (คือ สถาบัน  ขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ในปัจจุบัน) จัดกิจกรรมฉลองการก่อตั้ง ครบรอบ 5 ปี โดยได้รับเกียรติจากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย ร่วมพิธีฉลองและแสดงความยินดีด้วยตนเอง อีกทั้งร่วมเขียนชื่อภาษาจีนด้วยพู่กันจีน และมอบเกียรติบัตรผู้ชนะเลิศการประกวดกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งท่านบรรหารเป็นผู้ทุ่มเทและต้องการให้การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีนเป็นที่แพร่หลาย ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับเป้าหมายหลักของสถาบันขงจื่อฯ หลังจากการก่อตั้ง บุคลากรของสถาบันขงจื่อฯ ทุกคนทุ่มเททำงานอย่างหนักในงานด้านการศึกษาภาษาและการสื่อสารทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทย  ซึ่งส่งผลให้สถาบันขงจื่อฯ เติบโตขึ้นและเริ่มมีชื่อเสียงในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย ในความสำเร็จด้านการสอนภาษาจีน การอบรมครูผู้สอนภาษาจีน ซึ่งกลายเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งในการพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
          ๐ ในปี พ.ศ.2551 สถาบันขงจื่อฯ ได้รับการรับรองให้เป็นหนึ่งในศูนย์สอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน ที่ตั้งในต่างประเทศ
          ๐ ในปี พ.ศ.2551 ผู้ได้รับทุนการศึกษาต่อโดยสถาบันขงจื่อฯ กลุ่มแรก เริ่มศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
          ๐ ในปี พ.ศ.2552 อาคารสำนักงานสถาบันขงจื่อฯ เริ่มเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ
          ๐ ในปี พ.ศ.2552 สถาบันขงจื่อฯ เริ่มต้นจัดกิจกรรมและเชิญวิทยากร – ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนมาบรรยายในประเทศไทย
          ๐ ในปี พ.ศ.2553 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกวางสี กลุ่มแรกเดินทางมาประเทศไทยเพื่อฝึกปฏิบัติการสอนภาษาจีนให้แก่นักเรียนในโรงเรียนในความร่วมมือ
          ๐ ในปี พ.ศ.2554 สถาบันขงจื่อฯ ได้กลายเป็นศูนย์กลางให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอนและการสอบภาษาจีนในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย

ก่อร่างสร้างเครือข่าย (พ.ศ. 2554 – 2559)

          หลังจาก 5 ปี สถาบันขงจื่อฯ ได้เติบโตอย่างเต็มที่เปี่ยมไปด้วยพลัง ในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย การศึกษาด้านภาษาจีนได้แทรกเข้าสู่ทุกระดับการศึกษา ทั้งในหลายมหาวิทยาลัย ในโรงเรียนระดับมัธยม และระดับประถมศึกษา รวมถึงในระดับอนุบาล จากข้อมูล มีจำนวนผู้สมัครสอบวัดระดับภาษาจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม และคุณครูผู้สอนภาษาจีนในท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมมากขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้ง มีจำนวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมเดินทางไปประเทศจีนเพื่องานศึกษาวิจัยมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่กล่าวมานี้ส่งผลให้สถาบันขงจื่อฯ เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จากปริมาณการจัดการสอนจำนวนมาก ศูนย์บริการจัดสอบวัดระดับภาษาจีน ศูนย์การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน และศูนย์บริการด้านการวิจัยและการศึกษาภาษาจีนนานาชาติในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย ในปี 2559 จากการเปลี่ยนแปลงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เป็นมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ส่งผลให้สถาบันขงจื่อฯ เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี

          ตั้งแต่ปี 2559 ชื่อเต็มของสถาบันขงจื่อฯ คือ สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี (Confucius Institute of Suan Dusit University at Suphanburi)
          ด้วยชื่อใหม่นี้ สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ ยังคงรักษาเป้าหมายแรกเริ่มและพันธกิจของสถาบันไว้ ที่หยั่งรากลึกในจังหวัดสุพรรณบุรี สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตอย่างเต็มที่ และการส่งเสริมการศึกษาภาษาจีนนานาชาติในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย ในปี 2559 นี้ ไม่เพียงแต่จะใช้ชื่อใหม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการครบรอบ 10 ปีในการก่อตั้งสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ ด้วย บุคลากรของสถาบันขงจื่อฯ ทุกคนก้าวย่างอย่างภาคภูมิในการทุ่มเททำงานอย่างหนักและเฝ้ารอโอกาสสำคัญเพื่อความสำเร็จใหม่ ๆ

การฉลองครบรอบ 10 ปี

          ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2559 โอกาสพีธีการฉลองครบรอบ 10 ปี การก่อตั้งสถาบันขงจื่อฯ พร้อมกับพีธีฉลองการก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี นั้น ได้รับเกียรติจากอธิการบดีของทั้งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี ร่วมงานฉลองครั้งนี้ พร้อมกับแขกผู้มีเกียรติกว่า 200 คน ที่มีส่วนร่วมในทุกช่วงเวลาของสถาบันขงจื่อฯ ร่วมงานและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานอย่างหนักร่วมกันตลอดระยะเวลา 10 ปี การประสบผลสำเร็จขแงสถาบันขงจื่อฯ และช่วยกันระดมความคิดเพื่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต และร่วมไว้อาลัยในการสวรรคตในหลวงรัชกาลที่ 9  ซึ่งพิธีการดำเนินไปอย่างเหมาะสม พร้อมด้วยการมอบเกียรติบัตรและรางวัลให้แก่อาจารย์และอาสาสมัครชาวจีนในการทำงานด้วยความทุ่มเทและโดดเด่นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นมีการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการพัฒนาความร่วมมือของสถาบันขงจื่อฯ ซึ่งในการประชุมทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องต้องกันว่าการพัฒนาของสถาบันขงจื่อฯ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของทั้งสองมหาวิทยาลัยในตลอด 10 ปีที่ผ่านมาอย่างยิ่ง และความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายจะดำเนินต่อไปอย่างยาวนาน

          การศึกษาภาษาจีนนานาชาติ
          ในยุคใหม่นี้ สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ ได้ดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ กำหนดเป้าหมายในการอบรมภาษาจีนผสานร่วมกับทักษะด้านการอาชีพ นำคุณสมบัติหลักของการสอนภาษาจีนเพื่อวัตุประสงค์เฉพาะทาง และบูรณาการเข้าสู่หลักสูตรเกี่ยวข้องกับภาษาจีนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อให้เป็นการศึกษาที่มีความสามารถตามมาตรฐานที่สมบูรณ์สำหรับการพัฒนาความร่วมมือรอบด้านระหว่างจีนและอาเซียน

          การอบรมที่หลากหลายให้แก่ครูผู้สอนภาษาจีนในท้องถิ่น
          ครูผู้สอนภาษาจีนในท้องถิ่นคือกำลังหลักในการพัฒนาการศึกษาภาษาจีนในนานาชาติและเพื่อรับประกันคุณภาพการรสอนภาษาจีนให้อยู่ในระดับสูง ควบคู่กับการส่งเสริมการอบรมด้านทฤษฎีการสอนภาษาจีน พร้อมกับฝึกปฏิบัติ โดยสถาบันขงจื่อฯ ได้แผ่ขยายการดำเนินการสร้างบรรยากาศทางวิชาการที่เหมาสมให้แก่ครูผู้สอนภาษาจีนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการสอนและศักยภาพด้านการวิจัยของตนเอง เพื่อให้มีพัฒนาการอย่างมั่นคง พร้อมกับการเพิ่มคุณค่าในคุณภาพการสอนอย่างกลมกลืน

          การให้บริการสอบวันระดับความสามารถด้านภาษาจีน
          จวบจนปัจจุบัน สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี เป็นแห่งเดียวในภาคตะวันตกของประเทศไทยที่ต้องรับภาระงานสำคัญในการบริการจัดสอบให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนภาษาจีนที่มีจำนวนมาก มันคือแรงจูงใจที่ยึดถือของสถาบันขงจื่อฯ เพื่อให้ผู้สมัครทุกคนได้รับการควบคุม อย่างยุติธรรมและมีมาตรฐานการบริการจัดสอบ และช่วยให้ผู้มีระดับคะแนนสูงได้รับการแนะนำและรับทุนการศึกษาเรียนต่อที่ประเทศจีนมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางหลักของสถาบันขงจื่อฯ เพื่อไปถึงเป้าหมายการศึกษาอย่างท้าทาย

          การสร้างประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมชาวไทยและชาวจีน
          ลักษณะที่โดดเด่นด้านหนึ่งของสถาบันขงจื่อฯ คือการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมให้น่าตื่นเต้น รวมทั้งการจัดค่ายทางวัฒนธรรมในประเทศจีน สำหรับนักเรียนไทยทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา การจัดค่ายด้านการศึกษาวิจัยให้แก่บุคลากรทางการศึกษา ณ ประเทศจีน การเดินสายการอบรมโดยวิทยากรชาวจีนในประเทศไทย การบรรยายทางวิชาการหรือสัมมนาโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวจีนและชาวไทย หรือนักวิชาการต่าง ๆ  โดยกิจกรรมเหล่านี้จะสร้างเวทีการเรียนรู้ร่วมกันในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของไทย-จีน รวมทั้งสร้างสะพานด้านการสื่อสารผ่านประเพณีที่คล้ายคลึงกันของชาวไทยและชาวจ้วง

ฉลองครบรอบ 15 การก่อตั้งสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี

          สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ จัดงานฉลองครบรอบครบรอบ 15 ปี การก่อตั้งสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ในวันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Application โดยมีคณะกรรมการอำนวยการสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ นำโดย ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ ประธานกรรมการอำนวยการสถาบันขงจื่อฯ ฝ่ายไทย ร่วมพิธีเปิดและตัดเค้กฉลองวันเกิดครบรอบ 15 ปี โดยมีท่านจ้าว หลิงซาน เลขามูลนิธิการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ  คุณเฝิง จวิ้นอิง ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย รศ.ดร.ศิโรจน์  ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดร.ฟ่าน จั้วจวิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งอดีตผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อฯ สุพรรณบุรี ฝ่ายจีนและฝ่ายไทยพร้อมทั้งผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายความร่วมมือ และผู้บริหารสถาบันขงจื่อต่าง ๆ ทั่วโลก ร่วมส่งวีดีโออวยพรเนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปี ดังกล่าว ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Application จำนวนประมาณ 50 คน และผู้ชมการถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง Facebook ของสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ จำนวนกว่า 2,000 คน

          15 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่าสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี เริ่มต้นจากศูนย์จนเติบใหญ่ จากต้นกล้าเล็ก ๆ เติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงา เป็นเวลา 15 ปีแห่งการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และเป็น 15 ปีที่ไม่ลืมจุดมุ่งหมายแรกและจะไปให้ถึง ภายในรั้วมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี บุคลากรของสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ทุกคนทุ่มเททำงานอย่างหนักที่จะวางรากฐานงานด้านภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งมีผลผลิตเป็นนักเรียน นักศึกษาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนจากรุ่นสู่รุ่น ในสภาพแวดล้อมที่สวยงามของจังหวัดสุพรรณบุรี สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ มีผู้แวะเวียนมาเยี่ยมเยือนไม่ขาดสาย สร้างมิตรภาพกับคนทุกวัย ภายในราชอาณาจักรไทย บุคลากรของสถาบันขงจื่อฯ ได้ก้าวออกสู่สังคมภายนอกเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป

          “ประกายไฟเพียงนิด สามารถจุดกองไฟให้ลุกโชนได้” จากความพยายามและความสามัคคีของสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ มาตลอด 15 ปี ได้สั่งสมผลงานทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน และดำเนินการเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยอย่างต่อเนื่องซึ่งมีผลงานเป็นอันดับต้น ๆ จากสถาบันขงจื่อทั่วโลก มีจำนวนสถานศึกษาในความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการยอมรับจากท้องถิ่นเพิ่มขึ้น อันส่งอิทธิพลและสร้างชื่อเสียงให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มในการพัฒนาอย่างต่อไปในอนาคต

          กิจกรรมด้านการเรียนการสอนภาษาจีน และการอบรมที่เกี่ยวข้อง
          กิจกรรมด้านการเรียนการสอนภาษาจีน หมายถึง ความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และระหว่างสถาบันขงจื่อฯ กับสถานศึกษาในเครือข่ายความร่วมมือ รวมถึงการอบรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การอบรมครูผู้สอนภาษาจีนชาวไทย  การอบรมภาษาจีนเพื่อการอาชีพ และการอบรมภาษาจีนสำหรับประชาชนในท้องถิ่น หรือโครงการอบรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน เป็นต้น ตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ ได้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าว มีชั่วโมงการสอนรวม 219,514 ชั่วโมง มีจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนเรียน จำนวนรวม 179,714 คน และดำเนินโครงการ/กิจกรรมอบรมต่าง ๆ จำนวน 132 ครั้ง ซึ่งมีผู้ร่วมอบรม จำนวนรวม 11,111 คน

          กิจกรรมด้านการบริการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน
          การบริการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน หมายถึง การบริหารจัดการการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน โดยศูนย์ความร่วมมือทางการศึกษาด้านภาษา ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบข้อสอบและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน โดยแบ่งเป็น การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน อ่าน – เขียน (HSK) การสอบวัดระดับภาษาจีน ฟัง – พูด (HSKK) และการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนระดับเยาวชน (YCT) ตลอดระยะเวลา 15 ปี สถาบันขงจื่อฯ ได้ดำเนินการให้บริการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน จำนวน 130 ครั้ง ให้บริการผู้สมัครสอบ จำนวน 31,567 คน นอกจากนั้น ยังให้บริการแนะนำทุนการศึกษา เพื่อศึกษาต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน และมอบทุนแล้ว จำนวน 365 คน

          กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ไทย – จีน
          กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ไทย-จีน หมายถึง กิจกรรมทั้งหมด อาทิ โครงการวันเปิดบ้านสถาบันขงจื่อ กิจกรรมสัมผัสภาษาและวัฒนธรรมจีน โครงการอบรมภาษาและวัฒนธรรมจีนที่ประเทศจีนสำหรับนักเรียนไทย โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน สำหรับบุคลากรการศึกษาทั่วไป ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย  โครงการอบรมการวาดภาพด้วยพู่กันจีน โครงการอบรมศิลปะนาฏศิลป์จีนและกังฟูจีน เป็นต้น ตลอดระยะเวลา 15 ปี สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีนที่หลากหลาย จำนวน 618 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน จำนวนทั้งสิ้น 339,017 คน ดำเนินการจัดโครงการบรรยายและนำเสนองานวิชาการ จำนวน 46 ครั้ง มีจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมดังกล่าวทั้งสิ้น 7,412 คน และมีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งสิ้น 47 รุ่น มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 894 คน

ชั่วโมงการจัดการเรียนการสอน 219,514 ชั่วโมง  ผู้ที่ลงทะเบียนเรียน 179,714 คน
โครงการ/กิจกรรมอบรมต่าง ๆ 132 ครั้ง  ผู้ร่วมกิจกรรมอบรม 11,111 คน
ผู้สมัครสอบวัดระดับภาษาจีน  31,567 คน  ผู้ได้รับทุนการศึกษา  365 คน
กิจกรรมด้านวัฒนธรรมจีน 618 ครั้ง  ผู้ร่วมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมจีน 339,017 คน

ผลงานโดดเด่น

          “วสันตฤดูเป็นสีเขียว สารทฤดูเป็นสีเหลือง ช่างเป็นเวลาที่มีสีสัน” สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรีได้ดำเนินการมาอย่างมั่นคง ซึ่งช่วงเวลานี้มีทั้งรอยยิ้ม มีทั้งน้ำตา มีทั้งความสำเร็จ มีทั้งความล้มเหลว แต่ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนไป ก็ยังคงยึดมั่นในความรู้สึกไม่แปรเปลี่ยน จะขอใช้ภาพเล็ก ๆ เหล่านี้บันทึกเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นเพื่อในอนาคตจะได้ใช้เป็นการระลึกถึงการเดินทางที่ผ่านมา

          เมื่อต้นปี 2563 การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 เริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย ในช่วงที่ไวรัสกำลังระบาด สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรีได้ดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดเสมอมา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยและเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการบริหารของมหาวิทยาลัย ยกตัวอย่างเช่น การดำเนินการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนในรูปแบบออนไลน์ในแต่ละครั้งก็ล้วนมีสีสันและยังทำให้เกิดความประทับใจและความทรงจำที่มิอาจจะลืมแก่ผู้เข้าร่วมอีกด้วย

ช่วงเวลาเกียรติยศ

          ๐ ปี พ.ศ. 2549 รองผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ HANBAN Mr. Zhao Guocheng เยี่ยมชมสถาบัน  ขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี และเสนอข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์
          ๐ ปี พ.ศ. 2554 นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย ได้ร่วมเป็นเกียรติในวาระงานฉลองครบรอบ 5 ปีการก่อตั้งสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี
          ๐ ปี พ.ศ. 2555 Mr.Wang Yongli รองผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ HANBAN เข้าเยี่ยมเยียนสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี และเสนอข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์
          ๐ ปี พ.ศ. 2555 รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐารมณ์ จุฑาภัทร ประธานอำนวยการสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ฝ่ายไทย ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่น ที่ได้ร่วมสนับสนุนและก่อตั้งสถาบันขงจื่อในประเทศไทย
          ๐ ปี พ.ศ. 2556 ผู้แทนคณะกรรมการการศึกษาสภาแห่งประเทศไทยได้เยี่ยมชมสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี
          ๐ ปี พ.ศ. 2556 นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย ได้เยี่ยมชมศูนย์นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมจีนสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ณ หมู่บ้านมังกรสวรรค์
          ๐ ปี พ.ศ. 2557 ฯพณฯ Ning Fukui เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เยี่ยมชมศูนย์นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมจีนสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ณ หมู่บ้านมังกรสวรรค์
          ๐ ปี พ.ศ. 2557 Mr.Chen Jiang ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมชมสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรีและเสนอคำแนะนำที่เป็นประโยชน์
          ๐ ปี พ.ศ. 2558 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม จัดโดยสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี
          ๐ ปี พ.ศ. 2558 รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  เยี่ยมชมศูนย์นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมจีนสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ณ หมู่บ้านมังกรสวรรค์
          ๐ ปี พ.ศ. 2558 สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี “เจ้าคุณธงชัย” มอบเกียรติบัตรแก่ Mr. Wu Xiaoxin ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ฝ่ายจีน
          ๐ ปี พ.ศ. 2560 สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สุพรรณบุรี ร่วมถวายการต้อนรับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
          ๐ ปี พ.ศ. 2562 สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ ร่วมถวายรายงานแนวทางการทำงานของสถาบันขงจื่อ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมา ในงานสัมมนาฉลองครบรอบ 70 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน